๖. สภาพทางเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาและทำสวนผลไม้ เช่น มะม่วง มะปราง มะยงชิด และทำไร่แตงโมในฤดูแล้ง อาชีพรองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง ซึ่งเป็นการรับจ้างทำการเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการ
๖.๒ การประมง
(ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีการประมง)
๖.๓ การปศุศัตว์
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
๖.๔ การบริการ
- บ้านพักรายวัน ๑ แห่ง
- ร้านอาหาร ๒ แห่ง
- โรงภาพยนตร์ - แห่ง
- สถานีขนส่ง - แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็กไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ
๖.๖ อุตสาหกรรม
จำนวนกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (บริษัท เคเอ็มจี การ์เม้นท์ จำกัด) (โรงงานเย็บผ้า)จำนวน ๑ แห่ง
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
- ธนาคาร - แห่ง
- สถานีบริการน้ำมัน ๒ แห่ง
- บริษัท ๔ แห่ง
- สถานีบริการแก็สรถยนต์ ๑ แห่ง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๓ แห่ง
- ตลาดสด - แห่ง
- ร้านค้าต่างๆ ๑๐๗ แห่ง
- โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
- โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ๑ แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๓ กลุ่ม
- กลุ่มการประดิษฐ์ดอกไม้ / เรือนไทย
- กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์
- กลุ่มเกษตรปุ๋ยอินทรีย์
๖.๘ แรงงาน
จากประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้