แผนป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
คำนำ
การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานานและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง โดยมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและการบริหารราชการเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาการทุจริตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานในภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยทุกส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยมุ่งเน้นการสร้าง ธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นเพื่อมิให้เกิดการทุจริตได้
เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าว บรรลุได้อย่างเป็นรูปธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก จึงได้จัดทำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) ขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันปละปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตาม วิสัยทัศน์กำหนดไว้ และเป็นการถือปฏิบัติ คำสั่ง คสช. ที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติ ด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
สารบัญ
ส่วนที่ หน้า
ส่วนที่ ๑ บทนำ ๑-๒
ส่วนที่ ๒ การวิเคราะห์สถานการณ์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๓
ส่วนที่ ๓ กรอบแนวคิดการจัดทำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๔-๙
ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
ส่วนที่ ๔ แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี ๑๐-๑๓
(พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
ส่วนที่ ๕ รายละเอียดแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี ๑๔-๒๔
(พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
ส่วนที่ ๖ กรอบการนำแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ไปสู่ ๒๕
การปฏิบัติและติดตามประเมินผล
|
ส่วนที่ ๑
บทนำ
- หลักการและเหตุผล
การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ นับเป็นภัยร้ายแรงต่อประชาชนและประเทศชาติ ที่บ่อนทำลายทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนจนยากแก่การปราบปรามให้หมดสิ้นไปโดยง่าย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานราชการจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบให้หมดสิ้นไป ด้วยการสร้างระบบการป้องกันและควบคุมการปฏิบัติงานภายในให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบภายในหน่วยงาน
นอกจากนี้สังคมไทยยังมีวัฒนธรรม และค่านิยมที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการต่อต้านการทุจริต ผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐบางแห่งไม่ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี บกพร่องในการบริหารจัดการด้วย หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และมีการกระทำที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ภาคเอกชนและองค์กรธุรกิจบางแห่งยังขาดจริยธรรม และไม่ปฏิบัติตามหลัก บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ประชาชนยังขาดจิตสำนึก และไม่มีความตระหนักในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จุดอ่อนของกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเกิดจากทุกภาคส่วนขาดการส่งเสริมและสนับสนุนการยกย่องเชิดชูคนดีให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จากปัญหาดังกล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกในการทำดี ไม่สนับสนุนการทุจริต และปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ให้ประชาชนมีการตื่นตัวในการต่อสู้กับการช่วยกันดูแลตรวจสอบการทุจริต พัฒนาระบบราชการให้มีความโปร่งใสและเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน
เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างระบบราชการที่มีความโปร่งใส จัดระบบการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่า เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและสนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ และปลูกจิตสำนึกค่านิยมของสังคมให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็กอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำแผนป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบ (พ.ศ.25๖๐ – 256๔)
|
- วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน
- เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมและวิธีการทำงานที่สุจริตและโปร่งใสของ คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างทุกคนขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
- เพื่อส่งเสริมให้ คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างทุกคนขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก มีจิตสำนึก ค่านิยม และวัฒนธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ ไม่ทุจริต ไม่ติดสินบน มุ่งมั่นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมอันมั่นคง ส่งผลให้หน่วยงานปลอดการทุจริต คอรัปชั่น มุ่งสู่ราชการไทยใสสะอาด
- เพื่อให้มีระบบ และกลไกในการป้องกันและตรวจสอบมิให้เกิดการทุจริต หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
- เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง
- เพื่อสร้างบทบาทความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ป้องกันและเฝ้าระวังมิให้เกิดการทุจริต การปฏิบัติและ/หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นภายในหน่วยงาน
- เป้าหมาย
- ข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ตลอดจนประชาชน มีจิตสำนึกในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปในทางที่มิชอบทุกฝ่าย
- องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก มีระบบการปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างทุกคน สามารถจัดการกับกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างรวดเร็ว และโปร่งใส มิให้ข้าราชการอื่นใช้เป็นเยี่ยงอย่าง
- หน่วยงานสามารถประสานความร่วมมือในองค์กรและภายนอกองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
- องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก สามารถพัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม
- องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ประโยชน์ของการจัดทำแผน
- คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก มีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชน มีความซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส
- ประชาชนมีจิตสำนึกในการเห็นประโยชน์ของชุมชนและเฝ้าระวังการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
- มีระบบการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและลดโอกาสในการเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- สร้างระบบในการจัดการกับการทุจริตให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
- พัฒนาและเสริมสร้างบุคลากรและหน่วยงานในการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต
ส่วนที่ ๒
การวิเคราะห์สถานการณ์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๒.๑ การวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์การร้องเรียนของผู้ทุจริตและประพฤติมิชอบองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
สถานการณ์การร้องเรียนของผู้ทุจริตและประพฤติมิชอบองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็กในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ไม่พบข้อมูลการร้องเรียนเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็กและบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแต่อย่างใด
๒.๒ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
๒.๒.๑ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
จุดแข็ง (Strengths) | จุดอ่อน (Weaknesses) | ||
๑ | มีนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | ๑ | อัตรากำลังบุคลากรไม่เพียงต่อภารกิจ |
๒ | มียุทธศาสตร์ชาติฯ เป็นเครื่องมือกำหนดบทบาททิศทางการขับเคลื่อน | ๒ | การทำงานเป็นรูปแบบเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
การขับเคลื่อนฯ ยังขาดประสิทธิภาพ |
๓ | มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารและประสานงานภายในทั่วถึงครอบคลุมทั้งหน่วยงาน | ๓ | การประชาสัมพันธ์และช่องทางการประชาสัมพันธ์ไม่ครอบคลุม |
๒.๒.๒ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
โอกาส (Opportunities) | อุปสรรค (Threats) | ||
๑ | บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมการต่อต้านการทุจริต | ๑ | ค่านิยมอุปถัมภ์และระบบพวกพ้อง |
๒ | แผนพัฒนาฯ ๑๒ มุ่งให้คนไทยเป็นคนเก่ง และดี | ๒ | การบังคับใช้กฎหมายในการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพ |
๓ | มีสื่อออนไลน์ที่ทันสมัยใช้เป็นช่องทางส่งข้อมูลได้รวดเร็ว | ๓ | ประชาชนมีมุมมองปัญหาการทุจริตเป็นเรื่องปกติธรรมดา เกิดเป็นภาวะจำยอมและเพิกเฉย |
๔ | สังคมมีความต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เป็นรูปธรรมและมีระยะเวลาในการดำเนินคดีที่รวดเร็วขึ้น | ๔ | ผู้แจ้งเบาะแสไม่มั่นใจในความปลอดภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลของผู้กระทำความผิด |
ส่วนที่ ๓
กรอบแนวคิดการจัดทำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๔)
๓.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงาน มีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกระจายบทบาทภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างมีความเหมาะสม มีธรรมาภิบาล กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ คือการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๓.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ ธรรมาภิบาลในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศ เป้าหมายและตัวชี้วัด
เป้าหมายที่ ๒ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตัวชี้วัด ๒.๑ สัดส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด ๒.๒ ข้อร้องเรียนและคดีเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง
แนวทางการพัฒนา ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีวินัย โปร่งใส ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็ง เป็นภูมิคุ้มกันของสังคมไทย ให้ครอบคลุมภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชน พร้อมทั้งเพื่อสร้างพลังการขับเคลื่อนค่านิยมต่อต้านการทุจริต โดยการปลูกฝังให้คนไทยไม่โกงป้องกันการทุจริต ปราบปรามการทุจริต
๓.๓ นโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินด้านต่างๆ รวม ๑๑ ด้านโดยด้านที่เกี่ยวข้องการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของบุคคล คือ นโยบายข้อที่ ๑๐ สรุปได้ดังนี้
นโยบายที่ ๑๐ นโยบายการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
ข้อ ๑๐.๑ ในระยะแรก กระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้โดยรวดเร็ว ประหยัด และสะดวก ทั้งจะวางมาตรการทางกฎหมาย กำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ขั้นตอนที่แน่นอน ระยะเวลาดำเนินการที่รวดเร็ว และระบบอุทธรณ์ที่เป็นธรรม โปร่งใสมิให้เจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยง ประวิงเวลา หรือใช้อำนาจโดยมิชอบก่อให้เกิดการทุจริต การสูญเสียโอกาสหรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชนโดยเฉพาะ นักลงทุน ในระยะเฉพาะหน้าจะเน้นการปรับปรุงหน่วยงานให้บริการด้านการทำธุรกิจ การลงทุน และ ด้านบริการสาธารณะในชีวิตประจ้าวันเป็นสำคัญ
|
ข้อ ๑๐.๒ ยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการเชิงรุกทั้งในรูปแบบการเพิ่มศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนในต่างจังหวัดโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังส่วนกลาง ศูนย์บริการสาธารณะแบบครบวงจรที่ครอบคลุมการให้บริการหลากหลายซึ่งจะจัดตั้งตามที่ชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปติดต่อขอรับบริการได้โดยสะดวกการให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) และระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ พัฒนาหน่วยงานของรัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีการสร้างนวัตกรรมในการทำงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และมีระบบบูรณาการ
ข้อ ๑๐.๓ ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับ 19 การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆที่ไม่จำเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติและการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาว ใช้เวลานาน ซ้ำซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน
ข้อ ๑๐.๔ ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ โดยถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนแห่งชาติและเป็นเรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้านทั้งจะเร่งรัดการดำเนินการต่อผู้กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในด้านวินัยและคดี รวมทั้งให้ผู้ใช้บริการมีโอกาสประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหน่วยงานของรัฐ และเปิดเผยผลการประเมินต่อประชาชน ทั้งจะนำกรณีศึกษาที่เคยเป็นปัญหา เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การร่วมทุน การใช้จ่ายเงินภาครัฐ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ การมีผลประโยชน์ขัดแย้งหรือทับซ้อน ซึ่งได้มีคำวินิจฉัยขององค์กรต่าง ๆ เป็นบรรทัดฐานแล้วมาเป็นบทเรียนให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประมวลเป็นกฎระเบียบหรือคู่มือในการปฏิบัติราชการ
ข้อ ๑๐.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีองค์กรภาคเอกชนและเครือข่ายต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอดส่อง เฝ้าระวัง ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งจะวางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ถูกแทรกแซงหรือขัดขวาง
๓.๔ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบ
เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
|
ข้อ ๑ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้
ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้บังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
ข้อ ๓ ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างเคร่งครัด
ข้อ ๔ กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐดำเนินการแสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งติดตาม เร่งรัดผลการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ และรายงานผลการปฏิบัติพร้อมทั้งเสนอความเห็นให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง
๓.๕ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
วิสัยทัศน์“ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต(Zero Tolerance & Clean Thailand)”
ประเทศไทยในระยะ ๕ ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชน ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน เพื่อให้ประเทศไทย มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ
พันธกิจ“สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล”
|
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
วัตถุประสงค์หลัก
๑. สังคมมีพฤติกรรมร่วมต้านการทุจริตในวงกว้าง
๒. เกิดวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) มุ่งต้านการทุจริตในทุกภาคส่วน
๓. การทุจริตถูกยับยั้งอย่างเท่าทันด้วยนวัตกรรม กลไกป้องกันการทุจริต และระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
๔. การปราบปรามการทุจริตและการบังคับใช้กฎหมาย มีความรวดเร็ว เป็นธรรม และได้รับความร่วมมือจากประชาชน
๕. ดัชนีการรับรู้การทุจริต(Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทยมีค่าคะแนน ในระดับที่สูงขึ้น
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์มีความครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลักออกเป็น ๖ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะ “ที่ไม่ทน ต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคม ให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ จิตอาสา และความเสียสละเพื่อส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับ และต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ “ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต”สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยในห้วงระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาจากประเด็นข้อเรียกร้องหรือประเด็นการชุมนุมประท้วงของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายที่มีต่อทุกรัฐบาลที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายต่างมีข้อเรียกร้องที่สอดคล้องร่วมกันประการหนึ่งคือ การต่อต้านการทุจริตของรัฐบาลและ เจ้าหน้าที่รัฐ อาจกล่าวได้ว่าปัญหาการทุจริตนั้นเป็นเสมือนศูนย์กลางของปัญหาความขัดแย้งทั้งมวลของสังคมไทยในห้วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา และการแสดงออกซึ่งเจตจำนง ทางการเมืองของประชาชน ทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่ไม่ยอมรับและไม่อดทนต่อการทุจริตประพฤติมิชอบไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดก็ตาม ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองอันแน่วแน่ของประชาชนไทยทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่ต้องการให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปด้วยความโปร่งใส ปราศจากการทุจริตประพฤติ มิชอบดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น
รูปธรรมและสอดคล้องเป็นอันหนึ่ง
|
เดียวกัน โดยเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนและรัฐบาลมีการนำเจนจำนงทางการเมืองในเรื่องการต่อต้านการทุจริตไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ “สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย” การทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption) เป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งจากผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการทุจริตเชิงนโยบายมักเกิดจากการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเข้าแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยพบตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง การใช้อำนาจอย่างไม่โปรงใสยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ ๓ จึงได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ “สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งป้องกันการทุจริตตลอดกระบวนการนโยบายโดยการกำหนดมาตรการกลไก เสริมสร้างธรรมาภิบาล ตั้งแต่เริ่มขั้นก่อตัวนโยบาย (Policy formation) ขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ขั้นตัดสินใจนโยบาย (Policy Decision) ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ขั้นการประเมินนโยบาย (Policy Evaluation) และขั้นป้อนข้อมูลกลับ (Policy Feedback)
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ “พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก” ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นการพัฒนากลไกและกระบวนงานด้านการป้องกันการทุจริตของประเทศไทยให้มี ความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นเพื่อลดโอกาสการทุจริตหรือทำให้การทุจริตเกิดยากขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น โดยอาศัยทั้งการกำหนดกลไกด้านกฎหมาย กลไกทางการบริหาร และกลไกอื่น ๆ และเสริมสร้างการปฏิบัติงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ “ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต” ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริตเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนากลไกและกระบวนการต่าง ๆ ของการปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งในการปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริตดังกล่าวจะมุ่งเน้นการดำเนินการโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการตราเป็นกฎหมาย (Legislation) การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) และการตัดสินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด (Judiciary) การบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการปราบปรามการทุจริต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยในการพัฒนากลไกต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งยุทธศาสตร์นี้จะทำให้การปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คดีการทุจริตต่าง ๆ ถูกดำเนินการอย่างรวดเร็ว และผู้กระทำการทุจริตได้รับการลงโทษ สาธารณชนและสังคมเกิดความตระหนักและเกรงกลัวที่จะกระทำการทุจริต และคดีการทุจริตมีอัตราลดลงได้ ในที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ “ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย” เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานด้านความโปร่งใสและการจัดการการยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นการประเมิน และวิธีการสำรวจตามแต่ละแหล่งข้อมูล และเร่งรัด กำกับ ติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหรือปรับปรุงการทำงาน รวมไปถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคเอกชน และต่างประเทศเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย
|
ส่วนที่ ๔
แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๔)
๔.๑ หลักการความเป็นมา
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมือวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) และให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติโดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี และแผนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ขอความร่วมมือจังหวัดจัดทำแผนป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะ ๕ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) และจังหวัดพิจิตร จึงขอให้องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการจัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ ในการปกครองและบริหารจัดการในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะด้านต่างๆ ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่คนในท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิด กับประชาชน และมีความเข้าใจในสภาพและรับรู้ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่นได้ดีกว่าหน่วยงานราชการส่วนกลางในการปฏิบัติงานและการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือ ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งปัญหา การทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาของสังคมไทยที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิงขนาด และความสลับซับซ้อนของปัญหาทุจริต ซึ่งทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยมุ่งเน้น การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นเพื่อมิให้เกิดการทุจริต ประกอบกับนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ ก็ได้กำหนดให้ มีการบริการราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
|
ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบล สากเหล็ก จึงได้จัดทำแผนป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) เพื่อเป็นมาตรการแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบภาครัฐ ขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก และเพื่อให้ทุกหน่วยงานในองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก เป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างระบบราชการที่มีความโปร่งใส จัดระบบการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่าเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและสนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ และปลูกจิตสำนึกค่านิยมของสังคมให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และการพัฒนาคุณธรรมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ จึงได้จัดทำแผนป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการในการดำเนินการเรื่องโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ให้สามารถทำงานด้วยความโปร่งใส ตามหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม โดยประชาชนมีส่วนร่วม สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และรับผิดชอบ ตลอดจนสามารถตรวจสอบได้
วิสัยทัศน์
“องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก โปร่งใส ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต”
พันธกิจ
๑. สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
๒. บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๓. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๔. ส่งเสริมบทบาทภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เป้าหมายหลัก
องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็กไม่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ตามวัตถุประสงค์หลักในยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
|
๒. เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่โปร่งใส ทุจริตคอร์รัปชัน ขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก โดยมุ่งเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชารัฐ เน้นการร่วมคิด รวมทำ ร่วมปฏิบัติ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมติดตามประเมินผล โดยการแก้ที่สาเหตุของปัญหาการปลูกจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ รักษาวินัยของบุคลากรทุกคนในองค์กร การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนค่านิยมอื่น ๆ ที่ถูกต้อง รวมทั้งเข้าใจ วิถีดำเนินชีวิตที่สมควรและมีคุณค่า และจัดอบรมให้ความรู้ ในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่สุ่มเสี่ยงต่อการจะ ทำให้เกิดปัญหาความไม่โปร่งใส และการทุจริตคอร์รัปชัน โดยการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการกระทำ ที่ไม่โปร่งใส และการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ระบบการประมูล การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ การจัดซื้อจัดจ้าง มีระบบ/กลไกจัดการรับเรื่องร้องเรียน มีระบบตรวจสอบภายในองค์กร และการมีส่วนร่วม การใช้ดุลยพินิจ ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
๓. เพื่อขยายผลการดำเนินงานปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่องเสริมสร้างเครือข่ายร่วมต่อต้านการทุจริตในองค์การบริหารส่วนตำบล แสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วน อื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งพัฒนาระบบบริหารจัดการยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติที่เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๔. เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ยึดถือเป็นกรอบการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐมุ่งสู่เป้าหมายหลัก คือ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
ยุทศาสตร์ป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ |
๑. ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต | ๑. พัฒนาจิตสำนึก สาธารณะ
๒. การใช้เครื่องเมือการสื่อสารทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
๒. ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต | ๑. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการกล่อมเกลาทางสังคม และการปฏิบัติงานต่อต้านการทุจริต
๒. พัฒนาระบบ และจัดการองค์ความรู้การป้องกันการทุจริตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
๓. เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชนและบูรณาการทุกส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต | ๑. สร้างชุมชนเฝ้าระวัง ต่อต้านการทุจริต |
|
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ “สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย”
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ |
๑. วางมาตรการเสริมในการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายบนฐานธรรมาภิบาล | ๑. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
๒. การสร้างกลไกการตรวจสอบ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร |
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ “พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก”
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ |
๑. เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันการทุจริต | ๑. พัฒนามาตรการเชิงรุกที่สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตในแต่ละระดับ
|
๒. สร้างกลไกการป้องกันเพื่อยับยั้งการทุจริต | ๑. สร้างกลไกป้องกัน เพื่อยับยั้งการทุจริต
๒. นำข้อเสนอแนะจากกลไกป้องกันเพื่อยับยั้งการทุจริตสู่การปฏิบัติ ๓. กำหนดกลไกการติดตามและประเมินผลการนำข้อเสนอแนะไปสู่การปฏิบัติ |
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ “ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต”
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ |
๑. ปรับปรุงระบบรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ | ๑. การปรับปรุงระบบการรับเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตต่างๆ
๒. การสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อระบบการรับเรืองร้องเรียน
|
ส่วนที่ ๕
รายละเอียดแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐- ๒๕๖๔)
๕.๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”
เป้าหมาย “สร้างสังคมที่ไม่ทนและไม่เพิกเฉยต่อปัญหาการทุจริต และร่วมต้านทุจริตในทุกรูปแบบ
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๑. ส่งเสริมให้มีระบบ
และกระบวนการ กล่อมเกลาทาง สังคมเพื่อต้านทุจริต |
๑.๑ พัฒนาจิตสำนึก
สาธารณะ ๑.๒ การใช้เครื่องมือ การสื่อสารทางสังคม เพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรม |
๑. กิจกรรมการขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมไปสู่การปฏิบัติ | ร้อยละ ๘๐ ของพนักงาน ส่วนตำบลและพนักงานจ้าง
มีความรู้ความเข้าใจและ ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ประมวลจริยธรรม |
– | – | – | – | – | ๑. ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วน
ตำบลสากเหล็กมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตาม มาตรฐานประมวลจริยธรรม ๒. สามารถปลูกจิตสำนึกการ เป็นผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างที่ดี ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ มุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ |
สำนักปลัด |
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๒.กิจกรรมการคัดเลือกผู้ปฏิบัติตามมาตรฐานทางคุณธรรม
จริยธรรม ๓. กิจกรรมการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น ประจำปี ๔. โครงการส่งเสริมคุณธรรม- จริยธรรม ให้กับเด็กเยาวชน ประชาชน |
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติตามมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม
ความสำเร็จของการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น จำนวน ๒ กลุ่ม
ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐๐ คน |
–
–
๕๐,๐๐๐
|
–
–
๕๐,๐๐๐
|
–
–
๕๐,๐๐๐
|
–
–
๕๐,๐๐๐ |
–
–
๕๐,๐๐๐ |
๑. ทำให้บุคลากรในหน่วยงานมีขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงาน
๒. สร้างมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน
มีบุคลากรดีเด่น จำนวน ๒ คน
เด็ก เยาวชน ประชาชน มีความประพฤติดี ปฏิบัติดีและมีคุณธรรม-จริยธรรม
|
สำนักปลัด
สำนักปลัด
กองการศึกษาฯ
|
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๒. ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต |
๒.๑ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการกล่อมเกลาทางสังคมและการปฎิบัติงานต่อต้านการทุจริต |
๒.. กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านทาง เฟสบุ๊กและไลน์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ๑.กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
ร้อยละ ๘๐ ของพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทาง ราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ |
–
–
|
–
–
|
–
– |
–
– |
–
– |
๑. ยกระดับจิตสำนึกในการ
รักษาประโยชน์สาธารณะ ๒. ปลุกจิตสำนึกยึดมั่นหลักคุณธรรมและต่อต้านการ ทุจริต
บุคลากรในหน่วยงานได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำเนิน ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปเป็นปรับใช้และปฏิบัติงานต่อต้านการทุจริต
|
สำนักปลัด
สำนักปลัด
|
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๒.๒ พัฒนาระบบและจัดการองค์ความรู้การป้องกันการทุจริตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
๒. กิจกรรมจัดมุมหนังสือ/การเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓. กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๔. กิจกรรมการให้ความรู้ “การปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (การสอดแทรกเป็นหัวข้อในการประชุมประจำเดือนขององค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก |
จัดมุมหนังสือเผยแพร่ภายในองค์การบริหารส่วนตำบล สากเหล็ก จำนวน ๔ เรื่องต่อไป
เผยแพร่ข้อมูล บนเว็บไซต์ ของ องค์การบริหารส่วนตำบล สากเหล็กจำนวน ๔ เรื่องต่อปี
จำนวนครั้งที่มีการบรรยายให้ความรู้
|
–
–
–
|
–
–
–
|
–
–
– |
–
–
– |
–
–
–
|
๑. ยกระดับจิตสำนึกในการ
รักษาประโยชน์สาธารณะ ๒. ปลุกจิตสำนึกยึดมั่นหลักคุณธรรมและต่อต้านการ ทุจริต ๑. ยกระดับจิตสำนึกในการ รักษาประโยชน์สาธารณะ ๒. ปลุกจิตสำนึกยึดมั่นหลักคุณธรรมและต่อต้านการ ทุจริต ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจ
|
สำนักปลัด
สำนักปลัด
สำนักปลัด
|
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๓. เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต | ๓.๑ สร้างชุมชนเฝ้าระวังต่อต้านทุจริต | ๑. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความโปร่งใสของหน่วยงาน
๒. กิจกรรมการพัฒนาและเสริมสร้างความรู้เครือข่ายภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต ๓. กิจกรรมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตโดยสามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนมาที่องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ได้ทุกวันในเวลาราชการ |
ร้อยละของหน่วยงานที่ดำเนินการตามมาตรการใสสะอาด
จำนวนสมาชิกเครือข่าย
ร้อยละของเรื่องร้องเรียนของประชาชนได้รับการแก้ไข
|
–
–
– |
–
–
– |
–
–
– |
–
–
– |
–
–
– |
หน่วยงานไม่มีเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ทุกหมู่บ้านมีเครือข่ายในการต่อต้านการทุจริต
เรื่องร้องเรียนได้รับการแก้ไข |
สำนักปลัด
สำนักปลัด
สำนักปลัด
|
๕.๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ “สกัดการทุจริตเชิงนโยบาย”
เป้าหมาย ๑. ลดการทุจริตในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
๒. ส่งเสริมให้นโยบายสาธารณะเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๑. วางมาตรการเสริมในการ
สกัดกั้นการทุจริตเชิง นโยบายบนฐาน ธรรมาภิบาล |
๑.๑ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ที่เกี่ยวข้อกับนโยบาย ๑.๒ การสร้างกลไก การตรวจสอบ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร |
๑. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
สร้างจิตสำนึกการต่อต้านการ ทุจริตประพฤติมิชอบให้แก่บุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ๒. พิจารณาช่องทางการประชาสัมพันธ์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีความหลากหลายและ ครอบคลุม
|
จำนวนบุคลากร
ที่ได้รับการเผยแพร่ไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
จำนวนช่องทางการประชาสัมพันธ์
|
–
– |
–
– |
–
– |
–
–
|
–
– |
บุคลากรมีจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ
มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพิ่มขึ้น
|
สำนักปลัด
สำนักปลัด
|
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๓. กิจกรรมส่งเสริมให้มีระบบ/กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง
ที่โปร่งใสและเปิดเผยมีระบบป้องกันการทุจริต
|
วิธีดำเนินการจัดการเรื่องร้องเรียนและการดำเนิน
การในการจัดซื้อจัดจ้าง
|
– | – | – | – | – | มีระบบและกระบนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เปิดเผยและป้องกันการทุจริต
|
กองคลัง
|
๕.๓ ยุทธศาสตร์ที่ ๓“พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก”
เป้าหมาย
๑. กลไกการป้องกันการทุจริตมีความเท่าทันต่อสถานการณ์การทุจริต เปลี่ยนแปลงสู่กระบวนการทำงานเชิงรุก สามารถป้องกันการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ
๒. การทุจริตลดน้อยลงหรือไม่เกิดการทุจริต
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๑. เพิ่มประสิทธิภาพระบบ
งานป้องกันการทุจริต |
๑.๑ พัฒนามาตรการ
เชิงรุกที่สามารถ แก้ไขปัญหาการทุจริต ในแต่ละระดับ |
กิจกรรมประกาศเจตนารมณ์
ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการต่อต้านการทุจริต
|
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ |
– | – | – | – | – | องค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นหน่วยงานที่ต่อต้านการทุจริต |
สำนักปลัด |
๒. สร้างกลไกการป้องกัน
เพื่อยับยั้งการทุจริต |
๒.๑ สร้างกลไกป้องกัน
เพื่อยับยั้งการทุจริต
|
กิจกรรมการตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิภาพ | ดำเนินการแล้วเสร็จ
ตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปี |
– | – | – | – | – | ตรวจสอบด้านการเงิน
การบัญชี,การพัสดุ,การจัดเก็บรายได้,การปฏิบัติงานในด้านต่างๆขององค์การบริหารส่วนตำบล |
สำนักปลัด
กองคลัง กองช่าง กองการศึกษาฯ กองสวัสดิการฯ |
๕.๔ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ “ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต”
เป้าหมาย
๑. การปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๒. คดีการทุจริตและการกระทำทุจริตลดน้อยลง
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | งบประมาณ | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
๑. ปรับปรุงระบบรับเรื่อง
ร้องเรียนการทุจริตให้มี ประสิทธิภาพ |
๑.๑ การปรับปรุงระบบ
การรับเรื่องร้องเรียน ของหน่วยงานต่อต้านการทุจริต ต่างๆ ๑.๒ การสร้างความเชื่อมั่นและ ความไว้วางใจต่อระบบการ รับเรื่องร้องเรียน
|
๑. เพิ่มช่องทางการแจ้งข้อมูล
การทุจริตที่หลากหลาย |
จำนวนช่องทางให้ภาค
ประชาชนเข้าร้องเรียน เสนอแนะให้ข้อมูล อย่างน้อย ๓ ช่องทาง |
– | – | – | – | – | จัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน จำนวน ๓ ช่องทาง | สำนักปลัด |
กลยุทธ์ | แนวทางตามกลยุทธ์ | แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม | ตัวชี้วัดระดับผลผลิต | ค่าเป้าหมายผลผลิต (หน่วยนับ) | ผลลัพธ์ | หน่วยงาน | ||||
ปี ๒๕๖๐ | ปี ๒๕๖๑ | ปี ๒๕๖๒ | ปี ๒๕๖๓ | ปี ๒๕๖๔ | ||||||
|
๒.การลดจำนวนการ
ฝ่าฝืนระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
|
จำนวนการกระทำผิดระเบียบและกฎหมาย
ลดลง
|
– | – | – | – | – | องค์การบริหารส่วนตำบล
สากเหล็กโปร่งใส |
สำนักปลัด |
ส่วนที่ ๖
กรอบการนำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ไปสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผล
การนำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบไปสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผล
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลสากเหล็ก ได้ประกาศใช้แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นนำไปเป็นกรอบแนวทางสู่การปฏิบัติต่อไป
การติดตามและประเมินผล
เพื่อให้ทราบแนวทางและกลไกในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ในหน่วยงาน โดยการกำหนดวิธีการติดตามและประเมินผล รูปแบบ ขั้นตอนที่จะใช้ในการติดตามและประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่าได้ดำเนินการนำแผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบไปสู่การปฏิบัติตามเป้าหมายหรือไม่ ดังนี้
๑. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้ตามแผนฯ
๒. ให้หน่วยงานที่รับผิดขอบจัดทำผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม พร้อมรายงานชี้แจงปัญหาอุปสรรค ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
๓. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานสรุปผลการนำแผนฯ ไปปฏิบัติ และนำเผยแพร่ บนเว็บไซต์ เช่น มีผลงานตามยุทธศาสตร์หรือไม่ การดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ ประชาชนได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด
การกำหนดห้วงระยะเวลาในการติดตามและประเมินผล
กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผล โดยการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานฯ ประจำปีงบประมาณ รอบ ๖ เดือน (ภายในวันที่ ๑ พฤษภาคม) และรอบ ๑๒ เดือน (ภายในเดือนธันวาคม)